top of page
franz-liszt-in-recital.jpg

On Staging

          ก่อนจะกล่าวไปถึงวิธีการตัดสินใจเลือกการนำเสนอผ่านการจัดเวที และการแสดงในครั้งนี้ เนื่องจากประเด็นหลักของงานคือการศึกษาอดีตในศตวรรษที่  จึงอยากจะกลับมาพูดถึงขณบ (tradition) และความเป็นมาของรีไซทอล (recital) เสียก่อน จากคำแปลที่ยกมาข้างต้นนั้น ก็แสดงให้เห็นถึงความหมายที่เข้าใจได้ง่ายของรีไซทอล โดยเฉพาะในความหมายหลังก็เป็นรากฐานในการจัดคอนเสิร์ตประเภทนี้ในปัจจุบัน

          แท้จริงแล้ว ’รีไซทอล’ ในความหมายของการเป็นคอนเสิร์ตแสดงเดี่ยวมีต้นกำเนิดมาจาก ‘Benefits Concert’ ที่ถูกจัดขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นการจัดคอนเสิร์ตโดยใช้ชื่อของผู้แสดงเป็นจุดขาย โดยจุดประสงค์ที่แท้จริงคือการนำเสนอความสร้างสรรค์ และความเป็นศิลป์ของนักดนตรีผู้นั้น แต่ความเป็นจริงๆ ที่มักจะเกิดขึ้นคือการใช้คอนเสิร์ตประเภทนี้ เพื่อส่งเสริมชื่อเสียงของตัวเจ้านาย หรือผู้สนับสนุนเจ้านั้นๆ เพื่อหาเงิน และข้อเสนอจ้างงานต่างๆ ซึ่งบนเพลงที่มักใช้ในยุคแรกนั้นมักจะเป็นเพลงที่ถูกเลือกมาจากโอเปร่า หรือ แฟนตาซีเป็นต้น ซึ่งภายในตัวงานก็ไม่ได้มีความจริงจังเป็นพิเศษ มีเสียงพูดคุย เสียงร้องเพลงตามโดยไม่มีปัญหาใดๆ

          จากที่กล่าวไปข้างต้นคือความเป็นไปของคอนเสิร์ตเพื่อผลประโยชน์ (Benefits Concert) ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 18 และดำเนินเป็นเรื่องปกติในยุคนั้จนถึงศตวรรษที่ 19 แต่ในขณะเดียวกันนั้น นักเปียโน และคีตกวีคนสำคัญอย่าง ฟรานซ์ ลิสท์ (Franz Liszt) ก็เป็นคนสำคัญผู้ที่ริเริ่มใช้คำว่า รีไซทอล แทนคำว่าคอนเสิร์ต ซึ่งจะเห็นได้ชัดในช่วง ปีค.ศ.1837-1840 ที่เขาได้เที่ยวแสดงคอนเสิร์ตเดี่ยว (หรือ เล่นกับวงที่ทำหน้าที่เป็น accompaniment เป็นการลดบทบาทของนักดนตรีคนอื่นลงนั่นเอง) โดยที่มีจุดมุ้งเน้นในการแสดงความเป็นเอกในเทคนิค (Virtuosity) และการตีความ (Intepretation) งานของนักประพันธ์คนอื่น หรือแสดงงานของตนเอง โดยที่ในโปรแกรมของตัวลิสท์เองจะเน้นไปที่งานของเขาเอง และนักประพันธ์ร่วมสมัยที่มีแนวคิดไปทางเดียวกัน ไม่ก็เป็นงานจากยุคคลาสสิก เช่นของโมสาร์ท (Mozart) และฮุมเมล (Hummel) เป็นต้น ซึ่งนอกจากเทคนิคที่ไร้ที่ติของตัวลิสซ์แล้ว สิ่งที่ทำให้เปียโนรีไซทอลในยุคศตวรรษที่ 19 และ 20 ตอนต้นเฟื่องฟูเกิดจากการพัฒนาของเปียโนที่สามารถทำเสียงได้หลากหลายกว่าเครื่องฮาร์ปสิคอร์ด (Harpsichord) ทำให้มีเพลงเปียโนมากมายพัฒนาขึ้นมาในยุคนี้ รวมไปถึงความนิยม (popular) ในกลุ่มชนชั้นกลาง เพราะสามารถซื้อหาได้ไม่ยากเกินไป และเล่นได้ด้วยตัวคนเดียว

          ภายหลังรูปแบบของรีไซทอลก็ถูกจัดขึ้นเป็นปกติ โดยที่เป็นการแสดงเดี่ยวบนเครื่องดนตรี หรือนักร้องโดยที่บทเพลงที่ถูกเลือกใช้ก็เปลี่ยนไปตามยุคสมัย หรือเปลี่ยนไปตามที่ต้องการจะสื่อสาร บ้างก็เพื่อใช้แสดงฝีมือ บ้างก็ใช้เพื่อการสอบ บ้างก็เพื่อนำเสนอไอเดียดนตรีที่แปลกใหม่ ซึ่งความจริงจัง หรือความ'ศักสิทธิ์' ของการฟังคอนเสิร์ตก็ขึ้นอยู่กับบริบทที่เกิดขึ้น และวิธีนำเสนอของตัวศิลปิน ซึ่งแน่นอนว่าหลังจากที่ทุกอย่างนำแสดงสิ่งเหล่านี้ก็จะมีกระบวนการตัดสินตามหลังมาจากเสียงของผู้ชม และนักวิจารณ์ที่ต่างกันออกไป ซึ่งมีทั้งในแง่ดี และร้าย แต่หน้าที่สำคัญของศิลปินคือการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ บนเส้นทางที่เราเชื่อมั่นต่อไป

Liszt-Program-at-Salle-Franchini.jpg
programs_18920215e_001.jpg
programs_18920215e_002.jpg
bill evans senior recital.jpg

          "If sacralization implied inhibition of spontaneous performer behavior, that is nothing compared with the constraints that were imposed on audiences, who were now expected (and are still expected) to behave in concert halls the way they behaved in church. Recalling Mozart’s own description of the audience that greeted his Paris symphony with spontaneous applause wherever the music pleased them (as audiences still do when listening to pop performers), it is hard to avoid a sense of irony when contemplating the reverent passivity with which any audience today will receive the same symphony. Concert programs now even contain guides to “concert etiquette” in which new communicants at the shrine can receive instruction in the faith. One that appeared in New York “stage bills” during the 1980s even affected a parody of biblical language." 

                                                                                                                                        Taruskin

          บทความข้างต้นสื่อว่ากระบวนการฟังดนตรีแบบจริงจังที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการประกอบสร้างขึ้นของมายาคติตามยุคสมัยเพียงเท่านั้น ซึ่งรูปแบบการฟังดนตรีในแต่ละยุคก็มีวัฒนธรรมการฟังที่ไม่เหมือนกัน การรับรู้ ความเข้าใจ และจุดประสงค์ของดนตรีก็ไม่เหมือนกัน หากจะว่ากันตรงๆ ในฐานะของผู้แสดงเอง มีความเห็นว่าเราควรจะทำความเข้าใจจุดประสงค์ของตัวชิ้นงานนั้นๆ ให้เรียบร้อยก่อน แล้วจึงนำมาตีความต่อว่าเราอยากสร้างประสบการณ์ใดให้กับผู้ชม ผู้ฟังจึงจะเหมาะสมที่สุด

          จากการตระหนักถึงประเด็นต่างๆ ของ recital ที่เกิดขึ้นในอดีต และนำมาเปรียบเทียบกับการทำ recital ในรูปแบบใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ที่มีทั้งการ Re-imagined, Re-intepretation หรือการนำสื่อผสม (mixed media) เข้ามาช่วยสื่อสาร แน่นอนว่าในหลายๆ ครั้ง การทำงานประเภทนี้ให้ความรู้สึกที่สดใหม่กับการฟังบทเพลงเดิม และสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้ผู้ฟังได้ แต่จากการค้นคว้า และทบทวนทำความเข้าใจทั้งอดีต และมุมมองของตนเองที่มีต่อรีไซทอลทั้งประสบการณ์ที่เคยเป็นทั้งผู้เล่น และผู้ชม จึงทำให้เห็นว่าการแสดงแบบตามขณบ (traditional) ก็ยังมีความน่าสนใจในหลายๆ แง่มุม โดยเฉพาะในเรื่องของ ความเข้มข้นของดนตรี และบรรยากาศที่เกิดขึ้นในห้องแสดง รวมไปถึงความเงียบที่เกิดขึ้นตลอดคอนเสิร์ต ทั้งหมดล้วนมีความหมายทั้งสิ้น และตัวผู้แสดงจะต้องอยู่ในสภาวะที่พร้อมจะเป็นผู้สื่อสารดนตรีออกไป โดยที่ตัวผู้ฟังก็รับรู้มันผ่านการตั้งใจฟังวิธีการนำเสนอ ผ่านเสียงดนตรี นั่นเองจึงเป็นเหตุให้เชื่อว่ารีไซทอลครั้งนี้ควรจะเป็นการเน้นไปที่เสียง และบรรยากาศที่เกิดขึ้นตลอดการแสดง แต่แน่นอนว่าในการจะทำความเข้าใจดนตรีบางประเภท (โดยเฉพาะศตวรรษที่ 20) บางคราวก็จำเป็นจะต้องรู้ชุดข้อมูลประมาณหนึ่ง เพื่อที่จะเข้าใจดนตรีเหล่านั้นได้อย่างเต็มเปี่ยม จึงเลือกที่จะเขียนบทความประกอบเป็นเหมือนคู่มือที่จะทำให้คนฟังเข้าใจดนตรีในคอนเสิร์ตครั้งนี้ได้อย่างดียิ่งขึ้นนั่นเอง

bottom of page