top of page

Guide to Olivier Messiaen 

and Le Style d'oiseaux

17/12/2020

Biography

''...De la bouche où l'oiseau de la voix se démène; 

C'est mon oeuvre, ce monde avec sa face humaine...'' 

                                                                         Excerpt from "La tête" by Cécile Sauvage

''...The mouth which bird of the voice awaits; It is my art, the world with its human face...''                                                                                                                                                   (Translation)

          ส่วนตัดจากบทกวีข้างต้น นำมาจากบทกวีนิพนธ์โดยมารดาของเมซิยง 'เซซิล โซวาช' (Cécile Sauvage) เป็นหนึ่งในยี่สิบบทประพันธ์ที่อุทิศให้กับลูกชายที่อยู่ในครรภ์ ชื่อ 'L'âme en bourgeon' บทกวีที่มารดาแต่งให้นี้เองเป็นแรงบันดาลใจให้กับเมซิยงในการใช้ชีวิต และการเป็นศิลปินโดยเฉพาะในช่วงต้นของชีวิต ถึงขนาดที่ตัวเขาพูดในขณะให้สัมภาษณ์ว่าบทกวีนี้ ‘มีอิทธิพลต่ออุปนิสัย และโชคชะตาทั้งหมดของผม' (''certainly influenced my character and my whold destiny'' Messiaen from Book of conversation with Antoine Golea)

        โอลิวิเย่ร์ เมซิยง (Olivier Messiaen) เกิดเมื่อวันที่ 10 เดือนธันวาคม ปี 1908 ในเมืองอาวีญง (Avignon) โดยที่ชีวิตในวัยเด็กรายล้อมไปด้วยบทกวี จากพ่อ (Pierre Messiaen) ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเชคเสปียร์ และแม่ที่เป็นนักกวี (Cécile Sauvage)

          ในปี 1914 เมซิยงมีอายุได้ ปี สงครามโลกครั้งที่หนึ่งก็ได้อุบัติขึ้น พ่อของเขาต้องไปรบ และย้ายไปอยู่กับน้องชายของแม่ที่เมือง เกรอโนบ (Grenobe) โดยที่เขาได้รับแรงบันดาลใจจากงานแสดง (play) ของเชคสเปียร์เป็นอย่างมาก ถึงขณาดที่สามารถท่อง (recite) บทละครของเขาได้ผ่านการแสดงโดยใช้โรงละครกระดาษที่เขาทำขึ้นมาเอง ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเองความสนใจในดนตรีของเมซิยงก็เติบโตขึ้นมาเช่นกัน ผ่านดนตรีของเดอบูว์ซี (Claude Debussy) และราเวล (Maurice Ravel) นักประพันธ์ร่วมสมัยที่มีชื่อเสียงในฝรั่งเศส ณ ขณะนั้น โดยเฉพาะโอเปร่าของเดอบูว์ซี เรื่อง Pelléas et Mélisande จากแรงบันดาลใจทั้งหมดนี้ จึงทำให้ความฝันในวัยเด็กของเมซิยงคือการเป็นนักประพันธ์สำหรับโอเปร่านั่นเอง

         นอกจากดนตรี และการละครแล้วสิ่งที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของเมซิยงในวัยเยาว์นั้นมีอีกสองสิ่งคือ ศาสนา และธรรมชาติ ซึ่งเขามีความผูกพันธ์กับศาสนาคริสต์ตั้งแต่เด็ก และนำความเชื่อ ความรักในพระเจ้าเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างผลงานหลายต่อหลายชิ้นในภายหลัง ธรรมชาติก็เช่นกัน เมื่อเมซิยงเติบโตในเกรอโนบที่มีธรรมชาติเป็นภูเขารายล้อม มีเสียงนก มีความยิ่งใหญ่ของภูเขา ที่นีี่เองที่ทำให้เขารู้สึกว่าเป็นบ้านซึ่งในภายหลังเขาก็มักจะกลับมาแต่งเพลงที่นี่อีกหลายครั้ง

''I am not a Cartesian French man but a French man of the mountains,   

  like Berlioz''

                                                                                                    Olivier Messiaen

          เมื่อสงครามจบลง ปีแอร์ได้กลับมาจากสงคราม ในปี 1918 จึงพาครอบครัวกลับไปอยู่ด้วยกันที่เมืองน็องต์ (Nantes) โดยที่เมซิยงได้เรียนเปียโนกับอาจารย์หลายท่านคือ Gontran Arcouet, Robert Lortat และ the Véron sisters ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเองเมซิยงมี      โอกาศได้เรียนการเรียบเรียสเสียงประสาน (Harmony) กับ Jehan de Gibon ซึ่งทั้งคู่ได้ติดต่อกันจนถึงเวลากิบบอนเสียชีวิต 

      

          หลังจากที่ย้ายมาอยู่ที่น็องต์ได้ไม่กี่เดือน ในปีเดียวกันนั้นเองปิแอร์ได้งานใหม่เป็นครูในปารีส และตัวเมซิยงก็สามารถสอบเข้าเรียนได้ที่ Conservatoire de Paris เมื่อมีอายุ 11 ปีเช่นกัน ซึ่งทำให้เขามีโอกาศได้ศึกษากับอาจารย์หลายท่าน หลายแขนงซึ่งมีอิธิพลต่อความเข้าใจดนตรีของเมซิยงเป็นอย่างมาก เช่น การเรียนประพันธ์เพลงกับ พอล ดูกา (Paul Dukas) หรือเรียนออร์แกนับ มาร์แซล ดูเปร (Marcel Dupré) เป็นต้น ซึ่งจะเห็นถึงคืบหน้าในการเรียนดนตรีของเมซิยงได้ผ่านรางวัลหลายชิ้่นที่เขาได้รับ และเมื่อเขาจบการศึกษาในวัย 15 ปี โดยที่มีผลงานประพันธ์คือ Preludes สำหรับเปียโน โดยใช้เป็นการนำเสนอแนวคิดเรื่อง Modes limited of transposition และ Non-Retrogradable Rhythm ที่จะกล่าวถึงในภายหลัง

          หลังจากที่เรียนออร์แกนกับดูเปรได้สักพัก เขาก็ได้ไปเป็นตัวแทนนักออร์แกนประจำโบสถ์ Église de la Sainte-Trinité ในปารีส ซึ่งภายหลังเขาก็ได้เล่นออร์แกนที่นี่เป็นประจำ ตลอด 60 ปีให้หลัง (เมซิยงมีชื่อเสียงมากในการด้นสด (Improvise) บนออร์แกน) ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันนั้น เขาก็ได้อยู่ในกลุ่มนักประพันธ์รุ่นใหม่ที่มี อังเดร โชลิเว่ต์ (André Jolivet) เป็นผู้ก่อตั้ง ซึ่งกลุ่มนี้มีแนวทางในการแต่งเพลงเพื่อมนุษย์ และลดความเป็นนามธรรมลง คล้ายกับการเป็น ลัทธินีโอ-อิมเพรสชั่นนิสม์ (Neo-Impressionist)

           ฝรั่งเศสในยุคนั้นเต็มไปด้วยความก้าวหน้าทางศิลปะ มีทั้งโอเปร่าของซาตี้ (Erik Satie) ที่ทำงานร่วมกับปิกัสโซ่ (Pablo Picasso) หรือการแสดงปฏมทัศน์ผลงานอื้อฉาวของสตราวินสกี้ (Igor Stravinsky) อย่าง Le Scare du Printemps (The rite of spring) ก็เพิ่งผ่านไปไม่นาน ทั่วยุโรปเต็มไปด้วยกลุ่มแนวคิดทางศิลปะที่แตกต่างกัน และพร้อมจะนำเสนอสิ่งที่ตัวเองเชื่อ นี่เองจึงทำให้เมซิยงกล่าวประโยคนี้ขึ้นมาอย่างติดตลกว่า

''I had no time  for that so-called simplification that started out from Gounod to founder in 'returns to Bach' and such like!''

          ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง เมซิยงมีผลงานที่น่าสนใจอยู่หลายชิ้นคือ Poems pour Mi คือเพลงร้องกับเปียโน ที่แต่งให้ภรรยาคนแรกอย่าง แกลร์ เดลโบ (Claire Delbos) ในปี 1932 และงานอีกชิ้นที่สำคัญคือ Fête des belles eaux เป็นเพลงใช้ประกอบการแสดงโดยใช้แสงที่สาดลงบนแม่น้ำแซนน์ (La Seinne) ในงาน Paris Exposition ปี 1937 เป็นเพลงที่เขียนสำหรับ Ondes Martenots (เครื่องดนตรีอิเล็กโทรนิกส์ในยุคแรกๆ) 6 ตัว นอกจากนั้นก็ยังมีเพลงสำหรับออแกนอย่าง La Nativité du Seigneur เป็นต้น

          ช่วงเวลาที่สงครามโลกครัั้งที่สองปะทุขึ้นในปี 1939 เมซิยงในวัยหนุ่มก็ถูกเกณฑ์เข้าเป็นเป็นทหารในกองทัพ โชคร้ายที่เขาถูกจับเป็นเชลยศึกที่เวดรุน (Vedrun) ในช่วงเดือนพฤษภาคม ปี 1940 ซึ่งเขาถูกส่งไปอยู่ในค่าย STALAG VIII-A ที่เมือง เกอริตช์ (Görlitz) ประเทศเยอรมนี ซึ่งที่แห่งนี้เองจะเป็นสถานที่สำคัญครั้งหนึ่งในชีวิตของเขา เมซิยงได้พบกับเพื่อนนักดนตรีในค่ายเชลยศึกร่วม 3 คน คือ อองรี อะโกกา (Henri Akoka) นักคลาริเน็ต, ฌอง เลอ บูแลร์ (Jean le Boulaire) และเอเตียน บาสกีเย่ (Étienne  Pasquier) นักเชลโล่

         เมซิยงได้ประพันธ์เพลงขึ้นในค่ายเชลยศึกนี้เอง โดยที่มีผู้คุมคาร์ล อัลเบิร์ต บรูล (Carl-Albert Brüll) ให้ความช่วยเหลือในการนำดินสอ และเศษกระดาษให้ โดยตอนแรกเขียนเพียงแค่ทรีโอ (trio) สั้นๆ ให้เพื่อนๆ เท่านั้น ซึ่งทรีโอนี้เองก็ถูกนำมาพัฒนาต่อกลายเป็น Quatuor pour la fin du temps (Quartet for the end of time) ผลงานชิ้นเอกของเขา ที่มีแรงบันดาลใจจากเรื่องของวันสิ้นโลก (Apocalypse) ในคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งแสดงครั้งแรกในค่ายกักกันนั้นเอง โดยมีผู้ชมเป็นเชลย และผู้คุมร่วม 400 คน

          ภายหลังเมซิยงได้รับการปล่อยตัวด้วยความช่วยเหลือจาก ผู้คุมอย่างบรูล และครูของเขาอย่างมาแซล ดูเปรช่วยเหลือ ซึ่งในปัจจุบันสถานที่แห่งนี้กลายสถานที่ในประวัติศาสตร์ที่สำคัญ และถูกใช้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์ ในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยน ศิลปะ และดนตรีต่อไป

          หลังจากกลับจากสงครามเขาได้กลับมาเป็นอาจารย์ที่ Conservatoire de Paris โดยมีนักเรียนที่ภายหลังจะกลายเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงอีกหลายคน เช่น Pierre Boulez, Iannis Xenakis, Geroge Benjamin และ Karlheinz Stockhausen เป็นต้น ซึ่งในช่วงนี้ไปจนถึงบั้นปลายชีวิต เมซิยงใช้เวลากับการสอน การทำงานดนตรีทดลอง (เช่น Twelve Tone ไปจนถึง Musique Concrète) รวมไปถึงการเล่นออร์แกน และการประพันธ์ชิ้นงานใหม่ๆ อีกหลายชิ้นที่น่าสนใจ เช่น Turangalîla-Symphonie, Des Canyons aux étoiles, Réveil des oiseaux หรือ Sept haïkaï เป็นต้น

bottom of page